อธิษฐาน


            อธิษฐานคือการตั้งความมุ่งหวังให้สำเร็จผลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งความปรารถนาไว้ กำหนไว้ ต่างกับการบนบาน ซึ่งหมายถึงการขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนประสงค์ให้สำเร็จสมปรารถนา เมื่อใดสำเร็จสมปรารถนาแล้วให้สิ่งตอบแทนแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นบารมีหนึ่งบารมีที่ผู้เจริญในธรรมพึงเจริญให้มีอยู่ในใจ
ที่มา https://www.google.co.th

ขันติบารมี


            ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา  หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม  งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้
ที่มา http://www.kalyanamitra.org

เทวดา


 เทวดา แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่
1.เทวดาชั้นฉกามาวจร  อยู่บนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร หรือสวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกามซึ่งมี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตสวัตดี
2.เทวดาชั้นรูปาวจรภูมิ หรือ รูปพรหม 16 ชั้น เป็นเทวดาที่ยังมีกายทิพย์

3.เทวดาชั้นอรูปาวจรภูมิ หรือ อรูปพรหม เป็นเทวดาซึ่งไม่มีกายทิพย์
ที่มา https://th.wikipedia.org

นิพพาน



        นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง
ที่มา http://www.nabia10.com

สมาบัติ



     สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌานสมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน   สมาบัติ มี 8 อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ
ที่มา https://th.wikipedia.org
        

ญาณ ๑๖


ญาณ ๑๖  ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย  คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ
       ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป
       ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งใน              นามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย
       ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
       ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙
       ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
       ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
       ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
       ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
ที่มา www.nkgen.com


การสวดมนต์

.



        สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้  เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง ทำให้มีสมาธิจิตใจ แจ่มใส การสวดมนต์เป็นการสร้างสมาธิวิธีการหนึ่ง เมื่อจิตที่มีสมาธิย่อมแจ่มใส มีกำลัง คิดอ่านแก้ไขปัญหาอะไรก็จะทำได้ง่ายเพราะมีสติกำกับอยู่
ที่มาhttp://horoscope.sanook.com

บุญ




        บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมายเช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละที่

ที่มา www.buddhadasa.com

ลักษณะของเมตตา


           วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส พรหมวิหารนิเทส แสดงลักษณะของเมตตาพรหมวิหารไว้ว่า เมตตามีอาการประพฤติเกื้อกูลเป็นลักษณะมีการน้อมนำเข้าไปเกื้อกูลประโยชน์ในสัตว์เป็นรส มีการบำบัดความอาฆาตเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการที่ปรากฏ) มีการเห็นสัตว์เป็นที่ชอบใจ คือไม่โกรธเคือง ไม่ขุ่นเคืองในขณะนั้นเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้)  มีการเข้าไปสงบความพยาบาทเป็นสมบัติ  มีความเสน่หาเป็นวิบัติ         ดังนั้น การจะแสดงว่ามีเมตตาต่อบุคคลใด จึงต้องมีลักษณะดังกล่าว ซึ่งหากว่าไม่ใช่อาการเหล่านี้ จิตขณะนั้นอาจเป็นโลภะหรือโทสะซึ่งเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่เมตตา
ที่มา http://www.siamsouth.com


สมาธิ


    เมื่อกล่าวถึงสมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของฤๅษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5310853341/Meditation2.html