เมตตา


อานิสงส์ ๑๑ ประการ
(๑) สุขังสุปะติ, คือ (ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น) หลับอยู่ก็เป็นสุฃสบาย
(๒) สุขัง พุชฌะติ, ตื่นขึ้นก็เป็นสุขสบาย,
(๓) นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, ไม่ฝันร้าย
(๔) มะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย,
(๕) อะมะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่าอมนุษย์ทั่วไป,
(๖) เทวะตารักขันติ, เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา
(๗) นาสสะอัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัตราก็ดี ย่อมทำอันตรายไม่ได้(๘) ตุวะฎัง จิตตังสะมาธิยะติ, จิตย่อมเป็นสมาธิได้โดยเร็ว,
(๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, ผิวหน้าย่อมผ่องใส,
(๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, เป็นผู้ไม่ลุ่มหลง ทำกาลกิริยาตาย,
(๑๑) อุตตะรัง อัปปะฎิวำชฌันโต, พรัหมะโลกูปะโค โหติ, เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษอันยิ่งๆขึ้นไป,ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล
ที่มา http://www.dhammathai.org

อธิษฐาน


            อธิษฐานคือการตั้งความมุ่งหวังให้สำเร็จผลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งความปรารถนาไว้ กำหนไว้ ต่างกับการบนบาน ซึ่งหมายถึงการขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนประสงค์ให้สำเร็จสมปรารถนา เมื่อใดสำเร็จสมปรารถนาแล้วให้สิ่งตอบแทนแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นบารมีหนึ่งบารมีที่ผู้เจริญในธรรมพึงเจริญให้มีอยู่ในใจ
ที่มา https://www.google.co.th

ขันติบารมี


            ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา  หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม  งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้
ที่มา http://www.kalyanamitra.org

เทวดา


 เทวดา แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่
1.เทวดาชั้นฉกามาวจร  อยู่บนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร หรือสวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกามซึ่งมี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตสวัตดี
2.เทวดาชั้นรูปาวจรภูมิ หรือ รูปพรหม 16 ชั้น เป็นเทวดาที่ยังมีกายทิพย์

3.เทวดาชั้นอรูปาวจรภูมิ หรือ อรูปพรหม เป็นเทวดาซึ่งไม่มีกายทิพย์
ที่มา https://th.wikipedia.org

นิพพาน



        นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง
ที่มา http://www.nabia10.com

สมาบัติ



     สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌานสมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน   สมาบัติ มี 8 อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ
ที่มา https://th.wikipedia.org
        

ญาณ ๑๖


ญาณ ๑๖  ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย  คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ
       ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป
       ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งใน              นามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย
       ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
       ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙
       ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
       ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
       ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
       ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
ที่มา www.nkgen.com


การสวดมนต์

.



        สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้  เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง ทำให้มีสมาธิจิตใจ แจ่มใส การสวดมนต์เป็นการสร้างสมาธิวิธีการหนึ่ง เมื่อจิตที่มีสมาธิย่อมแจ่มใส มีกำลัง คิดอ่านแก้ไขปัญหาอะไรก็จะทำได้ง่ายเพราะมีสติกำกับอยู่
ที่มาhttp://horoscope.sanook.com

บุญ




        บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมายเช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละที่

ที่มา www.buddhadasa.com

ลักษณะของเมตตา


           วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส พรหมวิหารนิเทส แสดงลักษณะของเมตตาพรหมวิหารไว้ว่า เมตตามีอาการประพฤติเกื้อกูลเป็นลักษณะมีการน้อมนำเข้าไปเกื้อกูลประโยชน์ในสัตว์เป็นรส มีการบำบัดความอาฆาตเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการที่ปรากฏ) มีการเห็นสัตว์เป็นที่ชอบใจ คือไม่โกรธเคือง ไม่ขุ่นเคืองในขณะนั้นเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้)  มีการเข้าไปสงบความพยาบาทเป็นสมบัติ  มีความเสน่หาเป็นวิบัติ         ดังนั้น การจะแสดงว่ามีเมตตาต่อบุคคลใด จึงต้องมีลักษณะดังกล่าว ซึ่งหากว่าไม่ใช่อาการเหล่านี้ จิตขณะนั้นอาจเป็นโลภะหรือโทสะซึ่งเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่เมตตา
ที่มา http://www.siamsouth.com


สมาธิ


    เมื่อกล่าวถึงสมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของฤๅษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5310853341/Meditation2.html